อินทรวิเชียรฉันท์11 บทประพันธ์ปราบเซียนนนน
🙏🏻สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ นักเรียนมัธยมทุกคนนน หลาย ๆ คนคงเคยได้เรียนเรื่องอินทรวิเชียรฉันท์11 หรือเคยได้ยินกันมาบ้าง หลาย ๆ คนรู้สึกว่าเป็นบทประพันธุ์ที่สุดยอดแห่งความยากสำหรับนักเรียนมัธยมอย่างเรา ๆ เลยใช่มั้ยล่ะคะ🥶 แค่เห็นฉันทลักษณ์ก็แทบวูบบบบ ข้อบังคับเยอะเต็มไปหมด ทั้งคำครุ ลหุ บลา ๆ ๆ ก็นั่นแหละค่ะ มันยากจริง ๆ ฮื้อ ถ้าครูสั่งการบ้านให้แต่งอินทรวิเชียรฉันท์11เมื่อไหร่ล่ะก็ มองหาคนช่วยเลยทีนี้ 😭
วันนี้เราก็จะมาแนวเดิมค่ะ จะมาอธิบายอินทรวิเชียรฉัน11ให้เพื่อน ๆ เข้าใจได้ง่ายที่สุด และแนะนำเทคนิคการแต่งกันค่ะ ด้วยความที่เราเป็นเด็กมัธยมเช่นกัน ก็ย่อมเข้าใจหัวอกเพื่อน ๆ ว่ามันยากแค่ไหนที่จะต้องทำความเข้าใจกับคำยาก ๆ เราเลยจะอธิบายด้วยภาษาง่าย ๆ ของเราให้เพื่อน ๆ เข้าใจได้มากที่สุด พร้อมแล้วก็ ไปรู้จักกับอินทรวิเชียรฉันท์11กันเลยยยย✨💖✨
อินทรวิเชียรฉันท์ 11 บทประพันธ์ปราบเซียนนนน👍🏻
ทำความรู้จักอินทรวิเชียรฉันท์11✨
- 1 บาทมี 11 คำ จึงเรียกว่าอินทรวิเชียรฉันท์ 11
-1 บทมี 2 บาท
-จะบังคับใช้คำ ครุ ลหุ ในจุดที่กำหนดไว้
-มักจะใช้เป็นบชม บทคร่ำครวญ บทสวด พากย์โขน
รู้จักคำครุ-ลหุ จุดที่ยากที่สุดในการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ 11🥺
คำครุ (เสียงหนัก) แทนด้วยสัญลักษณ์ ั
-เป็นคำที่มีตัวสะกดได้ทุกมาตรา โดยเราไม่ต้องสนค่ะว่าเป็นสระเสียงสั้นหรือสระเสียงยาว ถ้ามีตัวสะกด ก็ถือว่าเป็นคำครุทั้งหมด เช่น กัด ราช ดาว เดือน จับ จะสังเกตได้ว่าคำพวกนี้มักจะมีตัวอักษรตามหลังค่ะ (กัด ราช ดาว เดือน จับ) ถ้าเห็นว่าคำไหนมตัวอักษรตามหลังนั่นเป็นคำครุแน่นอน
-เป็นคำที่ใช้สระเสียงยาวแต่ไม่มีตัวสะกดก็ได้ เช่น ปี ดี หา โต หู ใจ ไป จะสังเกตได้ว่าคำพวกนี้ไม่มีตัวอักษรต่อท้ายเลย แต่ใช้สระเสียงยาวหมดทุกตัว (ปี ดี หา โต หู ใจ ไป)ถือว่าเป็นคำครุเช่นกันค่ะ
คำลหุ (เสียงเบา) แทนด้วยสัญลักษณ์ ุ
-ต้องเป็นคำสระเสียงสั้นเท่านั้นและต้องไม่มีตัวสะกด เช่น ลุ ติ ปะ เตะ แตะ โละ เกาะ รึ
ถ้ามีตัวสะกดโผล่มา หรือเป็นสระเสียงยาวเมื่อไหร่ แอดแอ้ดดด ผิดทันทีค่ะ ไม่ใช่คำลหุเลยยย
เทคนิคการแต่งอินทรวิเชียรฉันท์11
สิ่งทำให้การแต่งอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ยาก ก็คือต้องคิดคำ ครุ-ลหุ และฉันทลักษณ์ที่จำได้ยาก เทคนิคของเราจึงมีดังนี้ค่ะ
-การจำฉันทลักษณ์ของอินทรวิเชียรฉันท์11 ค่อนข้างยาก เพราะบางทีเราอาจจำไม่ได้ว่า สัญลักษณ์อันไหนแทนครุหรือลหุ บางทีก็จำสลับกันไปมั่วซั่ว (ซึ่งเราเป็นแบบนี้บ่อยมากแห่ะ ๆ)
เราเลยแนะนำเพื่อน ๆ ให้จำแบบนี้ค่ะ หนัก=ครุ เบา=ลหุ
เทคนิคการจำแบบหนัก-เบา |
จะทำให้การจำและการดูฉันทลักษณ์ง่ายขึ้นในระดับนึง สามารถท่องปากเปล่าได้เลยค่ะ
วิธีการคิดคำครุ
คำครุมีข้อจำกัดน้อย มีคำที่ใช้ได้มากมายกว้างขวาง เทคนิคของเราก็คือคิดอยู่เสมอว่า "อะไรก็ที่ไม่ใช่สระเสียงเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด" ซึ่งคำพวกนี้มีหลากหลายมากค่ะ บางทีสุ่ม ๆ พูดคำมามั่ว ๆ ก็มีโอกาสเป็นคำครุมากกว่าลหุแล้ว
วิธีการคิดคำลหุ
คำลหุนี่แหละค่ะตัวยากเลย เพราะต้องเป็นสระเสียงสั้น แถมห้ามมีตัวสะกดอีก วิธีของเราก็คือเราจะมีแบบฟอร์มที่เราคิดขึ้นมาเองสำหรับใช้คิดคำลหุ ซึ่งเราจะเขียนออกมาแบบนี้ค่ะ
-นอกจากนี้ยังมีคำลหุที่เป็นตัวอักษรตัวเดียวด้วยค่ะ เช่น ณ ธ บ เพราะเวลาอ่านออกเสียงก็เป็น นะ ถะ บะ ถือว่าเป็นสระเสียงสั้นและไม่มีตัวสะกดเช่นกัน
-สระเสียงสั้นที่มีตัวอักษรผสมอยู่ด้วยเช่น ประ พระ ปริ เกราะ เหมาะ แผละ พวกนี้ก็คือว่าเป็นคำลหุเช่นกันค่ะ เพราะมีตัวอักษรอยู่ระหว่างคำ ไม่ได้อยู่ตัวสุดท้าย ไม่ได้เป็นตัวสะกดค่ะ
-ใช้พจนานุกรมในการช่วยหาคำจะทำให้ได้คำศัพท์มากขึ้นค่ะ
💖ก็หมดลงเท่านี้นะคะสำหรับความรู้เรื่องอินทรวิเชียรฉันท์11 และเทคนิคการแต่งซึ่งเป็นเทคนิคส่วนตัวของเราทั้งหมด อยากให้เพื่อน ๆ นำไปปรับใช้กันดูนะคะ หวังว่าบล็อกนี้จะมีประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังทำความเข้าใจกับเนื้อหานี้อยู่ได้ไม่มากก็น้อย😍 ยังไงก็ขอให้ทุกคนเรียนอย่างเข้าใจ และสามารถแต่งคำประพันธ์ออกมาได้ดีค่ะ ส่วนใครมีเทคนิคดี ๆ สามารถมาแชร์กันได้นะคะ ขอให้เพื่อน ๆ ได้เกรดสี่วิชาภาษาไทยกันทุกคนเลยยยยย💯
🙏❤️❤️
ตอบลบเขียนดีและเข้าใจง่ายมากเลยค่ะ❤️❤️
ตอบลบเข้าใจง่ายดีค่ะ ทำต่อไปเรื่อยๆนะคะ
ตอบลบความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบเก่งมากครับ เขียนเข้าใจมากเลย ❤
ตอบลบ