เทคนิคการแต่งโคลงสี่สุภาพ บทประพันธ์สุดหินของเด็กมัธยมมม

           🙏🏻สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ชั้นมัธยมทุกคน หลาย ๆ คนคงคุ้นเคยกับคำว่า "โคลงสี่สุภาพ" กันอย่างมาก เพราะอาจจะเป็นเนื้อหาที่หลาย ๆ คนกำลังเรียนอยู่ในตอนนี้ และมีความรู้สึกว่า เห้อ ทำไมมันยากซะเหลือเกิน😢 หรือสำหรับบางคนที่ได้การบ้านให้แต่งโคลงสี่สุภาพ นี่คงเป็นงานหินเลยใช่มั้ยล่ะคะ ดังนั้นวันนี้เราจะพาเพื่อน ๆ มารู้จักโคลงสี่สุภาพ พร้อมกับแชร์เทคนิคการแต่งโคลงสี่สุภาพกันค่ะ ลุยยยย💛


มาทำความรู้จักกับโคลงสี่สุภาพกันเถอะ 💕🌼

หลาย ๆ คนไม่ชอบน้อน(น้อนในที่นี้เราจะใช้เรียกโคลงสี่สุภาพนะคะ) เพราะด้วยความที่ฉันทลักษณ์ของน้อนนั้นดูยาก มีรูปแบบการแต่งที่ตายตัว และระบุตำแหน่งเอกโทชัดเจน บางคนดูแล้วอาจจะยากต่อการเข้าใจ ดังนั้นเรามาทบทวนอีกสักหน่อยกันค่ะ



fact about โคลงสี่สุภาพ 😺

-โคลงสี่สุภาพจะบังคับเอก7โท4 ตามตำแหน่งที่ระบุไว้ 

-ดังนั้นจะมีเพียงแค่ 11 ตำแหน่งที่บังคับเอกโท  ส่วนตำแหน่งอื่นที่ไม่ได้บังคับเอกโท ควรจะไม่มีวรรณยุกต์ค่ะ คือไม่ควรใส่ ไม้เอก ไม้โท ไม้ตรี ไม้จัตวา แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ จะมีวรรณยุกต์ก็ได้ค่ะ ถือว่าไม่ผิดเช่นกัน แต่มันจะกลายเป็นแค่ "โคลงสี่" เฉย ๆ ค่ะ ถ้าเป็น "โคลงสี่สุภาพ" ควรมีวรรณยุกต์แค่ตำแหน่งที่เขาบังคับเท่านั้น"

-คำสร้อยคือคำที่อยู่ท้ายวรรคที่1กับ3 เป็นส่วนที่มีก็ได้หรือไม่มีก็ได้ค่ะ มีก็เพื่อทำให้ใจความสมบูรณ์ขึ้นเท่านั้น ไม่บังคับใส่ค่ะ

-1บทของโคลงสี่สุภาพมี30คำ (ไม่รวมคำสร้อย)

-ตำแหน่งที่บังคับใช้ไม้เอก สามารถใช้คำตายแทนได้ค่ะ คือคำที่ สะกดด้วย ก,บ,ด หรือเป็นสระเสียงสั้นที่ไม่มีตัวสะกดก็ได้ค่ะ


นี่ก็เป็น fact about โคลงสี่สุภาพที่เราควรรู้ค่ะ คราวนี้เรามาดูเทคนิคการแต่งกันบ้างดีกว่าาา 🌟


เทคนิคการแต่งโคลงสี่สุภาพ 📑

-หากเราจำโคลงสี่สุภาพเป็นรูปแบบฉันทลักษณ์คงยากที่จะจำได้ค่ะ เพราะอาจจะลืมตำแหน่งของเอกโทได้ แนะนำให้เพื่อน ๆ จำบท "เสียงลือเสียงเล่าอ้าง" แทนค่ะ โดยบทนี้ถือเป็นบทแม่แบบของโคลงสี่สุภาพเลยทีเดียว โดยบทนี้จะสั้นคุ้นหูคุ้นตาพวกเรา ถ้าท่องบทนี้ได้ เรื่องฉันทลักษณ์ไม่มีผิดเพี้ยนแน่นอนค่ะ



-หากเริ่มแต่งบาทแรกแนะนำให้คิดคำที่บังคับเอกโทก่อนเป็นอย่างแรกค่ะ จากนั้นค่อยคิดส่วนที่เหลือ จะทำให้คิดได้ไวขึ้นค่ะ คิดส่วนที่บังคับได้แล้ว ส่วนที่เหลือที่ง่ายขึ้นเยอะค่ะ สิ่งสำคัญก็คือถ้าคิดบาทแรกได้บาทต่อ ๆ มาจะเริ่มนึกเนื้อหาออกค่ะ

-อีกหนึ่งสิ่งที่ทำให้การแต่งโคลงสี่สุภาพยาก คือต้องคิดคำเอกโท แนะนำว่าเวลาตอนคิดคำ ห้คิดเป็นภาพ ๆ ไปค่ะ ให้เรามองเห็นในหัวว่าคำไหนมีไม้เอก และไม้โทที่สามารถใช้ได้บ้าง นึกมาไว้เยอะ ๆ และจดใส่กระดาษไว้เลยค่ะ จากนั้นค่อยมาเลือกเอาคำที่คิดว่าใช้ได้

-ถ้าเราเจอคำที่ใช่แต่มันดันไม่ใช่ตำแหน่งที่ถูกต้องของมัน (เหมือนเวลาเจอคนที่ใช่ในเวลาที่ไม่ใช่เลยเนอะ) เช่นเจอคำที่ใช้ไม้เอก แต่ทำแหน่งที่ต้องใส่ดันเป็นตำแหน่งไม้โท อย่าพึ่งถอดใจไปค่ะ เพราะเราสามารถใช้คำเอกโทษ โทโทษได้ เพราะมันจะช่วยเปลี่ยนไม้เอกเป็นไม้โท ไม้โทเป็นไม้เอกได้ โดยเสียงจะไม่เปลี่ยนไปค่ะ เปลี่ยนไปแค่การเขียนเท่านั้น

คำเอกโทษก็คือ คำที่เปลี่ยนจากไม้โทเป็นไม้เอก เช่น หมั้น เปลี่ยนเป็น มั่น

                                                                                      เหล้า เปลี่ยนเป็น เล่า

คำโทโทษก็คือ คำที่เปลี่ยนจากไม้เอก เป็นไม้โท เช่น ชมพู่ เปลี่ยนเป็น ชมภู้

                                                                                     เคี่ยว เปลี่ยนเป็น เขี้ยว   เช่นนี้เป็นต้น

-ลองใช้พจนานุกรม จะเป็นเล่มหรือในมือถือ ช่วยในการหาคำไม้เอกกับไม้โทดูค่ะ ถึงจะใช้เวลาในการหาบ้าง แต่ในนั้นต้องมีคำที่ใช้ได้แน่นอนนน

-หากคิดออกมาได้แล้ว แต่เนื้อหายังดูไม่ครบถ้วน คำสร้อยช่วยได้ค่ะ เติมลงไปโลดไม่ต้องคิดมากเลยค่ะ เพราะคำสร้อยนี่ไม้ต้องสัมผัสกับอะไรเลย แต่ขออย่างเดียวคือต้องอยู่วรรคที่1กับ3เท่านั้นนน


💖ก็หมดลงไปแล้วนะคำสำหรับ "เทคนิคการแต่งโคลงสี่สุภาพ บทประพันธ์สุดหินของเด็กมัธยมมม" หวังว่าเพื่อน ๆ จะนำเอาไปปรับใช้ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ ไม่ว่าเรื่องนี้จะหินแค่ไหนแต่เราเชื่อว่าถ้าเพื่อน ๆ พยายามจะเรียนรู้และฝึกฝนบ่อย ๆ ก็จะทำได้ดีแน่นอนค่ะ✌✌✌ ขอให้เข้าใจเนื้อหาและได้เกรดสี่วิชาภาษาไทยกันทุกคนเลยนะคะ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันค่ะ 🙏

                                                                                      


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

โวหารภาพพจน์ฉบับเข้าใจง่ายยย สไตล์เพื่อนสอนเพื่อน

รีวิวหนังสือ ATOMPAKON