โวหารภาพพจน์ฉบับเข้าใจง่ายยย สไตล์เพื่อนสอนเพื่อน

 🙏🏻สวัสดีค่ะเพื่อน ๆ ทุกคน นักเรียนชั้นมัธยมอย่างเรา ๆ ต้องเคยได้เรียนวิชาภาษาไทยเรื่องโวหารภาพพจน์กันมาใช่มั้ยคะ และอาจจะมีคนที่กำลังเรียนอยู่พอดีเลยยย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่จะว่าง่ายก็ไม่ง่าย จะว่ายากก็ไม่ถึงกับยาก ถือว่าเป็นเรื่องที่ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ของวิชาภาษาไทยเลยค่ะ หลาย ๆ คนที่กำลังเรียนอยู่อาจจะไม่เข้าใจโวหารภาพพจน์บางอัน🧐  ตีความไม่ถูกในบางจุด ฟังครูอธิบายด้วยถ้อยคำยาก ๆ ก็ยังคงไม่เข้าใจ ดังนั้นวันนี้เราจะมาอธิบายโวหารภาพพจน์ให้ฟังแบบเข้าใจง่าย ๆ แบบเพื่อนสอนเพื่อนกันค่ะ ลุยยยยยยยยย✨

✨❤️โวหารภาพพจน์ฉบับเข้าใจง่ายยย สไตล์เพื่อนสอนเพื่อน ❤️✨



โวหารภาพพจน์ ก็คือ การเขียนอย่างมีชั้นเชิง เพื่อให้ได้เนื้อหาที่ดี เหมาะสม น่าอ่าน เลิศสะแมนแตน โดยแต่ละโวหารภาพพจน์ จะมีการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างออกไป เหมือนตัวละครที่มีคาแรคเตอร์ของตัวเองเลยค่ะ 


1.อุปมา คือการเปรียบสิ่งหนึ่ง เหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เหมือน,ดั่ง,ดุจ,ประดุจ,ประหนึ่ง,ราวกับ ถ้าเจอคำพวกนี้ให้เดาไว้ก่อนเลยค่ะว่าน่าจะเป็นอุปมาโวหาร

ตัวอย่างอุปมา
-เธอสวยราวกับนางฟ้า
-เขาวิ่งไว้เมือนม้า
-โดนเธอบอกเลิกแล้วฉันเจ็บใจเหมือนผลัดตกหลังควายมาโดนตอไม้
-ช็อกโกแลตเฟอรารี่ลอชชี่ล้ำค่าดั่งคนที่คุณรัก

2.อุปลักษณ์ คือการเปรียบสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง มักจะมีคำว่า เป็น,คือ 

ตัวอย่างอุปลักษณ์
-เขานิ่งเป็นหินเลย
-เธอคือคนบ้า ฉันสิดวงจันทร์
-เธอเป็นมากกว่ารัก เพราะเธอนั้นคือครึ่งชีวิต
-เขาชอบทำตัวเป็นเด็ก ๆ

หลาย ๆ คนชอบจำสลับกันระหว่าง อุปมา และ อุปลักษณ์ เพราะว่ามันคล้ายกันทั้งชื่อทั้งตัวโวหารเลยใช่มั้ยคะ จะบอกว่ามันไม่เหมือนกันเลยค่ะ อุปมาคือเปรียบแค่ให้เหมือนเฉย ๆ แต่อุปลักษณ์เป็นไปเลยจ้า ไม่ต้องเหมือนจ้า จะได้ไม่ต้องมโน 
ท่องไว้ค่ะเพื่อน ๆ อุปมาเปรียบเหมือนนน อุปลักษณ์เปรียบเป็นนน

3.บุคคลวัต / บุคลาธิษฐาน คือการทำให้สิ่งไม่มีชีวิต มีชีวิตขึ้นมาทันควัน โดยจะเลียนแบบพฤติกรรมของคนด้วย  ถ้าอันไหนอ่านแล้วมีความรู้สึกว่า บ้าหน่าาา ในชีวิตจริงมันทำไม่ได้ มันไม่มีชีวิตสักหน่อย ก็เดาไว้ได้เลยค่ะว่าต้องใช้บุคคลวัตแน่นอน

ตัวอย่างบุคคลวัต
-พระจันทร์ยิ้ม
-คลื่นน้ำกระเซาะจูบโขดหิน
-ดวงอาทิตย์หลับไหล
-ธรรมชาติโอบกอดฝูงสัตว์

4.สัทพจน์ คือการเลียนเสียงของธรรมชาติ ธรรมชาติในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าต้องเป็นเสียงของแม่น้ำ ป่าไม้ อย่างเดียวนะคะ แต่เป็นเสียงทุกเสียงที่เราได้ยิน ยกเว้นเสียงพูด อาจจะเป็นเสียงลม ฝน เสียงที่เกิดจากการหยิบจับของ เสียงไอจาม เสีงเคาะประตู ถือว่าเป็นสัทพจน์ทั้งหมดค่ะ

ตัวอย่างสัทพจน์
-ฝนตกดังซู่ซ่า
-ลูกแมวร้องเหมียว เหมียว
-ท้องร้องจ๊อก ๆ 
-แม่เคาะประตูดัง ก๊อก ก็อก

5.อติพจน์ คือการกล่าวมากเกินจริง เว่อร์มากแม่ เกินเบอร์มา มันไม่น่าจะเกิดขึ้นจริงในชาตินี้แน่นอน ถ้าเจออะไรที่มันดูเว่อร์ ดูเป็นไปไม่ได้ นั่นแหละค่ะใช้อติพจน์แน่ ๆ

ตัวอย่างอติพจน์
-คิดถึงเธอแทบใจจะขาด
-ฉันหิวจนจะกินช้างได้ทั้งตัวแล้ว
-ชีวิตฉันขาดเธอไม่ได้
-รักเธอจนตราบชั่วฟ้าดินสลาย

6.อวพจน์ อันนี้ตรงข้ามกับอติพจน์เลยค่ะ คือการกล่าวน้อยเกินจริง พูดให้มันดูน้อย ๆ เล็ก ๆ น้อยมาก น้อยเกินไปปะแม่ แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย

ตัวอย่างอวพจน์ 
-ตัวหดเหลือเท่าขี้มด
-เรื่องเล็กเท่าขี้ผง
-รอสักอึดใจเดียว
-กินข้าวเท่าแมวดม

ระวังจำสลับกันนะคะเพราะอติพจน์กับอวพจน์ชื่อคล้ายกันมาก ๆ แต่ถ้าจำผิดชีวิตเปลี่ยนทันทีค่ะ เพราะความหมายมันคนละขั้วกันเลย
ท่องไว้ค่ะ อติมากเกินนน อวน้อยเกินนน เท่านี้ก็จำได้ง่ายขึ้นแล้วค่ะ

7.สัญลักษณ์ คือการเรียกสิ่ง ๆ หนึ่งโดยใช้คำอื่นเรียกแทน แต่ว่าคำนั้นต้องเกิดจากการตีความ ละความหมายของมันก็มักจะเป็นที่เข้าใจตรงกันค่ะ เช่น สัญลักษณ์ของความชั่วร้ายคือสีดำ สัญลักษณ์ของคนดีคือนางฟ้าเทวดา สัญลักษณ์ของสันติภาพคือพิราบ เช่นนี้เป็นต้นค่ะ

ตัวอย่างสัญลักษณ์
-เขาก็ไม่ต่างจากสุนัขจิ้งจอก   (สุนัขจิ้งจอกคือสัญลักษณ์คนเจ้าเล่ห์)
-ใจของฉันมีม่านหมอกเต็มไปหมด     (ม่านหมอกคือสัญลักษณ์ของความเศร้า หม่นหมอง)
-นึกว่าเทพบุตรที่แท้ก็แค่ปีศาจ   (เทพบุตรคือสัญลักษณ์ของคนดี ปีศาจคือสัญลักษณ์ของคนชั่ว)
-เรื่องนี้ฉันขอยกธงขาวละกันนะ   (ยกธงขาวคือสัญลักษณ์ของการยอมแพ้)

8.นามนัย คือการเรียกสิ่ง ๆ หนึ่งด้วยจุดเด่นของมันค่ะ ถ้าสิ่งนั้นมีจุดเด่นอะไรก็เอาจุดเด่นนั้นมาเรียกแทนชื่อของมันไปเลย เช่นจุดเด่นของกรุงเทพคือเป็นเมืองหลวงของไทย หลายคนจึงเรียกกรุงเทพว่า เมืองหลวง เช่นนี้เป็นต้นค่ะ

ตัวอย่างนามนัย
-ขวานทองของไทย    (ขวานทองคือประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีลักษณะเด่นคล้ายขวานทอง)
-ลูกหลานย่าโม    (คือชาวนครราชสีมา เพราะเด่นเรื่องท้าวสุรนารี)
-สถานที่ท่องเที่ยวเมืองโอ่ง มีแต่สวย ๆ งาม ๆ    (เมืองโอ่งคือจังหวัดราชบุรี เพราะเด่นเรื่องโอ่งมังกร)
-ท่องเที่ยวแดนปลาดิบ    (คือประเทศญี่ปุ่น เพราะเด่นเรื่องซาชิมิปลาดิบ)
-เขาลงจากเก้าอี้แล้ว    (เก้าอี้คือตำแหน่ง เพราะจุดเด่นคือจะมีเก้าอี้ประจำตำแหน่งในทุกตำแหน่ง)

หลายคนอาจจะสับสนระหว่างนามนัยและสัญลักษณ์ว่ามันแตกต่างกันยังไงว้า ให้จำง่าย ๆ ค่ะว่า
สัญลักษณ์คือเกิดจากการตีความเป็นอีกความหมายหนึ่ง ส่วนนามนัยคือการโฟกัสแค่จุดเด่นของสิ่งนั้น ๆ 

9.ปฏิพากย์ คือสิ่งที่ขัดแย้งกัน ไม่ไปในทางเดียวกัน จะมีความรู้สึกว่าเห้ยสรุปคุณพี่หมายถึงยังไงกันแน่ค้า

ตัวอย่างปฏิพากย์
-ความเงียบดังที่สุด
-เธอนี่สวยเป็นบ้า
-บ้านของเขาคือสวรรค์บนดิน
-เลวบริสุทธิ์

10.ปฏิปุจฉา คือคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบ ถึงจะมีคำตอบก็คือคำตอบที่เรารู้อยู่แก่ใจดีอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องตอบค่ะ มักจะถามเพื่อประชดประชัน ฉุกให้คิดซะส่วนมากค่ะ

ตัวอย่างปฏิปุจฉา
-เธอรู้ไหมว่าวัน ๆ ฉันทำงานเหนื่อยแค่ไหน
-พี่ว่าคำถามนี้มันน่าตอบไหมคะ เป็นหนูหนูไม่ถามน้า มารยาทนิดนึงอะค่ะ
-ทำตัวไร้มารยาทแบบนี้มันสมควรแล้วหรอ
-เหตุการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้เธอยังจะนิ่งดูดายอยู่อีกหรือ


ก็หมดไปแล้วนะคะสำหรับ "โวหารภาพพจน์ฉบับเข้าใจง่ายยย สไตล์เพื่อนสอนเพื่อน" หวังว่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อน ๆ ไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณที่เข้ามาอ่านมาาความรู้กันค่ะ ยังไงก็ขอให้ทุกคนเข้าใจในบทเรียน 💛และได้เกรดสี่วิชาภาษาไทยกันทุกคนเลยยย  💯






ความคิดเห็น

  1. ขอบคุณความรู้ดีๆครับ ❤🥰

    ตอบลบ
  2. เข้าใจจขึ้นมากๆเลยค่ะ🙏🏻

    ตอบลบ
  3. เขียนดีมากเลยค่ะ เข้าใจง่ายมากกก ทำต่อไปเรื่อยๆนะคะ💕

    ตอบลบ
  4. ครูสอนเรื่องนี้พอดี ขอบคุณครับ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณข้อมูลดีๆนะคะ💗✨

    ตอบลบ
  6. เข้าใจมากขึ้นมากๆเลยค่ะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เทคนิคการแต่งโคลงสี่สุภาพ บทประพันธ์สุดหินของเด็กมัธยมมม

รีวิวหนังสือ ATOMPAKON